Menu
วันอังคาร, มีนาคม 19, 2024
หน้าแรก พูดถึง ทรงชัย รัตนสุบรรณ

พูดถึง ทรงชัย รัตนสุบรรณ

ทรงชัย รัตนสุบรรณ
ทรงชัย รัตนสุบรรณ

ทรงชัย รัตนสุบรรณ เป็นบุตรของ นายสุบรรณ และนางบุญรัตน์ รัตนสุบรรณ โดยทรงชัยมีพี่สาวหนึ่งคนและพี่ชายหนึ่งคนซึ่งได้แก่ เพ็ญศรี (รัตนสุบรรณ) พูลสุวรรณ และศักดา รัตนสุบรรณ เมื่อครั้งที่อยู่ทางแถบทะเลตะวันออกเขากับพี่ชายได้เข้าชกมวยไทยโดยพี่ชายของเขาใช้ชื่อ ศักดา ฤทธิชัย เข้าแข่งโดยเคยชกกับนักมวยเอกอย่างเชิดศักดิ์ ลูกบางคล้า ในขณะที่ทรงชัยใช้ชื่อ ทรงชัย ชัยสุริยะ ขึ้นชก ที่ซึ่งเขาเคยเข้าแข่งขัน ณ สนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อครั้งที่เคยถูกรุ่งชัย พงษ์สิงห์ เตะจนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ก็ได้แขวนนวม โดยทำสถิติชก 22 ครั้ง แม้จะไม่เป็นฝ่ายแพ้คะแนน หากแต่เขากลับเป็นฝ่ายแพ้น็อกเป็นส่วนใหญ่

พ.ศ. 2508 ขณะที่เขามีอายุได้ 19 ปี ก็ได้เริ่มทดลองจัดรายการมวยที่เวทีโสธร แปดริ้ว ด้วยทุนจากทางครอบครัว และจัดให้นักมวยสองพี่น้องอย่าง ศิริมงคล ลูกศิริพัฒน์ ผู้พี่ กับสิงห์ห้าว ส.ลูกพิทักษ์ ผู้น้อง ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกับเขาเข้าแข่งขันในรายการประจำเดือน ที่งานหลวงพ่อโสธร ซึ่งมีผู้เข้าชมอย่างเนืองแน่นทุกนัด เมื่อจัดได้ 4 ปี ชื่อเสียงของทรงชัยก็เริ่มเป็นที่รู้จัก

ช่วงประมาณ พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518 ทรงชัยได้รับโอกาสทดลองงานด้วยการจัดรายการมวยที่สนามมวยเวทีลุมพินี เป็นระยะเวลาราว 6 ถึง 7 เดือน จนเกือบจะได้รับการบรรจุ แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ในรายการสุดท้าย คือการไล่มวยลง 2 คู่ ทรงชัยได้ขึ้นไปยังล็อกชั้น 2 และ 3 และพนมมือให้ผู้ชมพร้อมกล่าวแสดงความรับผิดในขณะที่น้ำตาไหล ครั้นแล้ว เขาก็สามารถสร้างประทับใจในการจัดรายการมวยครั้งต่อมา จนได้รับการบรรจุให้เป็นโปรโมเตอร์อย่างเต็มตัว

พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นโปรโมเตอร์ครั้งแรก ที่สนามมวยสนามมวยเวทีลุมพินี ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2540 เป็นนายสนามมวยมาตรฐานแห่งใหม่ โดยสร้างสนามมวยขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้ชื่อว่า สนามมวยนานาชาติ (ประเทศไทย) โดยมีพล อ.เชษฐา ฐานะจาโร ผู้บัญชากาทหารบก/นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเป็นประธานในพิธีเปิด

19 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ได้ลาออกจากการเป็นโปรโมเตอร์ของสนามมวยสนามมวยเวทีลุมพินีและได้ทำการจัดแข่งขันที่สนามมวยเวทีลุมพินีเป็นครั้งสุดท้าย และวันที่ 31 ธันวาคม ของปีเดียวกันนี้ ก็ได้ย้ายการจัดการแข่งขันชกมวยจากสนามมวยนานาชาติ ไปแข่งขันที่สนามมวยชั่วคราวห้องคอนเวนชั่น ฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน

7 มกราคม พ.ศ. 2544 เริ่มจัดการแข่งขันที่สนามมวยชั่วคราวห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน/ท่าพระ รวมถึงในวันที่ 25 มกราคม ของปีเดียวกันนี้ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโปรโมเตอร์คนที่ 13 ของสนามมวยเวทีราชดำเนิน ประเดิมนัดแรกในรายการ “ศึกมหาชนวันทรงชัย”

การดำเนินงานธุรกิจ

นายทรงชัยเริ่มก่อตั้งบริษัท ทรงชัย บ๊อกซิ่ง โปรโมชั่น จำกัดในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นบริษัทแรกเพื่อ ที่จะดำเนินธุรกิจทางด้านการจัดแข่งขันมวย

  • บริษัทที่ 2 ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ใช้ชื่อว่า บริษัทมวยไทย โปรโมชั่น จำกัด เพื่อรองรับการขยาย งานที่มากขึ้นธุรกิจของคุณทรงชัยก็ได้มีการเจริญก้าวมาอย่างต่อเนื่องจึงขยายธุรกิจโดยเปิดบริษัทเพิ่มอีก 4 บริษัทในเวลาต่อมา ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวงการมวย อาทิเช่น การจัดการแข่งขันชกมวยไทย มวยสากล ผลิตและจัดจำหน่าย วีซีดี ดีวีดี การแข่งขันชกมวย ฯลฯ ดังนี้บริษัท เอสเอสอาร์ โปรโมชั่น จำกัด ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537
  • บริษัท ทรงชัย อินเตอร์เนชั่นแนล โปรโมชั่น จำกัด ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539
  • บริษัท เอส.เอส.บ๊อกซิ่ง โปรดักชั่น จำกัด ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2540
  • บริษัท วันทรงชัย จำกัด ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นลำดับสุดท้ายโดยทุกบริษัทที่กล่าวมานายทรงชัยได้ก่อตั้งและดำเนินงานทางด้านธุรกิจนประสบความสำเร็จ แล้วจึงมอบหมายงานให้ บุตรและธิดา เข้ามาช่วยบริหารงานต่อจากนายทรงชัย และประสบความสำเร้จสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
  • โปรโมเตอร์เวทีมวยราชดำเนิน
  • ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  • ประธานฝ่ายกีฬามวย มูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน
  • โปรโมเตอร์เกียรตินิยมสมาคมมวยโลก (WBA)

ผลงาน

ผลงานโดดเด่นที่เจ้าตัวภูมิใจคือการเปิดตลาดมวยไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรปที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และจัดการถ่ายทอดสดมายังประเทศไทยในคืนวันส่งท้ายปีเก่า 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ต่อจากนั้นมีการถ่ายทอดสดมวยไทยจากต่างประเทศมาจนถึงปัจจุบันเรื่อยมา นับได้ว่าเป็นผลงานประวัติศาสตร์ ครั้งแรกของ ” ศิลปะมวยไทย ” ที่ไปเผยแพร่นอกบ้านได้อย่างสมบูรณ์

promoter-songchai

  1. ผู้จัดมวยไทยที่ได้รับการยอมรับเป็นโปรโมเตอร์เบอร์ 1 มากกว่า 15 ปี
  2. เปลี่ยนรายการมวยทีวี โดยนำนักชกเงินแสน และรายการมวยเงินล้าน ถ่ายทอดสู่ผู้ชมทางบ้าน
  3. นำ ศิลปะมวยไทย ไปเผยแพร่ทั่วทุกทวีปของโลก และถ่ายทอดสดกลับสู่
    ประเทศไทย และเป็นทูตมวยไทยไปเผยแพร่ศิลปะมวยไทย ซึ่งได้รับการยอม
    รับทั่วโลก
  4. เป็น ผู้สร้างมวยสากล ให้ประสบความสำเร็จสูงสุด และได้รับการยอมรับเป็น
    โปรโมเตอร์เกียรตินิยมของโลกซึ่งมีสมาชิก 147 ประเทศทั่วโลก และสมาคม WBA มอบรางวัลให้ในฐานะมีแชมป์โลกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2538 คือ
  • แสน ส.เพลินจิต
  • หยกไทย ศิษย์ อ.
  • พิชิต ช.ศิริวัฒน์
  • ดาว รุ่ง ช.ศิริวัฒน์ และสร้างแชมป์โลกทั้งหมดรวม 9 คน ได้แก่สามารถ พยัคฆ์อรุณ, เมืองชัย กิตติเกษม, พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์,ยอดสนั่น ส.นันทชัย, ยอดดำรงค์ สิงห์วังชา